Description
คำอธิบายรายวิชา
วิชา การใช้และการตีความกฎหมายมหาชน เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ การเทียบเคียงกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในทางกฎหมายปกครองนั้น จะต้องดำเนินความคิดตามหลักทั่วไปในทางนิติวิธี กล่าวคือ ในกรณีที่มีการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร ตามหลักเกณฑ์การตีความต่าง ๆ จนสิ้นสุดแล้ว ปรากฏว่าไม่อาจนำบรรทัดฐาน หรือบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรปรับแก้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้โดยตรง ซึ่งเท่ากับเป็นกรณีที่เกิดช่องว่างทางกฎหมายขึ้น ผู้ใช้กฎหมายจะต้องตรวจสอบว่าบรรทัดฐานหรือบทกฎหมายที่ไม่อาจตีความให้ใช้บังคับได้โดยตรงนั้น จะมีศักยภาพหรือความสามารถในการได้รับการนำไปใช้เทียบเคียงได้หรือไม่ กล่าวคือ มีข้อห้ามมิให้นำกฎเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้เทียบเคียงหรือไม่ หรือมีข้อจำกัดว่าผลทางกฎหมายของบรรทัดฐานหรือบทกฎหมายดังกล่าวนั้น ถูกจำกัดให้ใช้เฉพาะกรณีที่ต้องด้วยองค์ประกอบโดยตรงเท่านั้นหรือไม่ จากนั้นต้องพิจารณาว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและไม่ต้องด้วยองค์ประกอบโดยตรงนั้น สมควรได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อเท็จจริงที่ต้องด้วยองค์ประกอบโดยตรง หากปฏิบัติไม่เหมือนกันแล้ว จะก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคหรือไม่ และเมื่อพิจารณาโครงสร้างและระบบกฎหมาย ประวัติความเป็นมา ตลอดจนวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ชั่งน้ำหนักเหตุผลในด้านต่าง ๆ และประเมินคุณค่าแล้ว สมควรที่จะนำบรรทัดดฐานหรือบทกฎหมายที่ไม่ตรงกันกับข้อเท็จจริงนั้นไปใช้บังคับแก่ข้อเท็จจริงดังกล่าวในฐานะเป็นกฎหมายที่ไกล้เคียงอย่างยิ่งหรือไม่ ทั้งนี้โดยต้องตระหนักว่าในทางกฎหมายปกครองนั้น การเทียบเคียงกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคล บางกรณีไม่อาจกระทำได้เลย เช่น กรณีของโทษปรับทางปกครอง ส่วนการเทียบเคียงกรณีอื่นที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลโดยหลักแล้วย่อมกระทำไม่ได้เช่นกัน
เนื้อหาที่ใช้สอน
- (1) ลักษณะของกฎหมายมหาชนและบ่อเกิดของกฎหมาย
– ความหมายของคำว่า “การใช้กฎหมาย” และ “การตีความกฎหมาย”
– ลักษณะของกฎหมายมหาชน
– ความหมายของบ่อเกิดของกฎหมาย
– ประเภทของบ่อเกิดของกฎหมาย
– ลำดับชั้นแห่งผลบังคับของบ่อเกิดของกฎหมาย
– บ่อเกิดของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
– รัฐธรรมนูญ
– กฎหมายนิติบัญญัติ
– กฎหมายบริหารบัญญัติ (กฎหมายลำดับรอง)
– กฎหมายองค์การบัญญัติ
– ปัญหาเกี่ยวกับประกาศคณะรัฐประหารในฐานะบ่อเกิดของกฎหมาย
– ปัญหาเกี่ยวกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาในฐานะบ่อเกิดของกฎหมาย - (2) หลักเกณฑ์ทั่วไปในการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร
– ทฤษฎีในการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร ทฤษฎีอำเภอจิต ทฤษฎีอำเภอ การณ์
– หลักเกณฑ์การตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร
– การตีความตามหลักภาษาและไวยากรณ์
– การตีความตามระบบ
– ปัญหากรณีของบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดแย้งกัน
– ปัญหาความสัมพันธ์ของพระราชวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ กับ
พระราชบัญญัติอื่น ๆ
– การตีความตามประวัติความเป็นมาแห่งกฎหมาย
– การตีความตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย - (3) ช่องว่างของกฎหมายและการอุดช่องว่างของกฎหมาย
– ความหมายของช่องว่างแห่งกฎหมาย
– ช่องว่างในทางนิตินโยบาย
– ช่องว่างที่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจ (ช่องว่างแบบ intra verba legis)
– ช่องว่างของกฎหมายแบบเปิด (ช่องว่างแบบ praeter verba legis)
– ช่องว่างของกฎหมายที่เกิดจากกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็น
– วิธีการอุดช่องว่างของกฎหมาย
– ข้อห้ามในการอุดช่องว่างของกฎหมายโดยการใช้กฎหมายโดยเทียบเคียงใน
กฎหมายมหาชน
– การอุดช่องว่างของกฎหมายโดยการให้เหตุผลแบบ “ยิ่งต้องเป็นเช่นนั้น”
– การอุดช่องว่างของกฎหมายโดยให้เหตุผลว่ากรณีที่กฎหมายไม่บัญญัติเท่ากับ
กฎหมายไม่ต้องการผลเช่นนั้น
– การอุดช่องว่างของกฎหมายโดยการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
– การอุดช่องว่างของกฎหมายโดยใช้กฎหมายจารีตประเพณี
– การอุดช่องว่างของกฎหมายโดยใช้หลักกฎหมายทั่วไป - (4) การใช้กฎหมายโดยเทียบเคียงกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในกฎหมายปกครอง
– หลักการพื้นฐานในกฎหมายปกครอง: ความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทาง
ปกครอง
– ขั้นตอนการปรับใช้กฎหมาย
– ความแตกต่างของการตีความโดยขยายความกับการอุดช่องว่างของกฎหมายโดย
การเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
– ความสามารถหรือศักยภาพของบทกฎหมายที่จะนำไปใช้เทียบเคียง
– การปฏิเสธการเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
– การพิจารณาความคล้ายของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับบรรทัดฐานทางกฎหมาย - (5) การนำเอาบทบัญญัติในกฎหมายเอกชนมาปรับใช้ในกฎหมายมหาชน
– กรณีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองกระทำการในระบบกฎหมายเอกชน
– กรณีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองกระทำการในระบบกฎหมายปกครอง : ปัญหาการ
นำเอาบทบัญญัติในกฎหมายเอกชนมาใช้ในกฎหมายมหาชน
– การนำเอาหลักการแสดงเจตนาต่อผู้อยู่ห่างโดยระยะทางมาใช้กับกรณีของการยื่น
อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครอง
– วิธีการนำเอาบทบัญญัติในกฎหมายเอกชนมาใช้ในกฎหมายปกครอง - (6) กรณีศึกษา : การตีความคำว่า “ลูกจ้าง” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- (7) กรณีศึกษา : การตีความข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับ “การนับคะแนนใหม่”
- (8) กรณีศึกษา : การตีความรัฐธรรมนูญในปัญหาเกี่ยวกับการออกลงคะแนนของรัฐมนตรีที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมรัฐสภา
- (9) กรณีศึกษา : การใช้และการตีความกฎหมายปกครองในปัญหาเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีผู้บังคับบัญชา ผู้กำกับดูแล หรือผู้ควบคุมกำกับ
รูปแบบการเรียนรู้
จำนวน 6 ชั่วโมงการเรียนรู้ (มีประกาศนียบัตร) ผู้เรียนจะต้องเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ที่ Oacacademy.admincourt.go.th และทำกิจกรรมระหว่างเรียนเช่น การดูวีดิโอ การอ่านเนื้อหา และการสอบวัดผลการเรียนรู้ จำนวน 10 ข้อ โดยผู้เรียนต้องมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% (7 ข้อ) จึงจะผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
ผู้สอนรายวิชา
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์
รายละเอียด :