Description
คำอธิบายรายวิชา
วิชาเทคนิคการเขียนหนังสือราชการเป็นวิชาเกี่ยวกับ หลักการใช้ภาษาในการเขียนหนังสือราชการที่ถูกต้อง และเครื่องหมายการตรวจแก้ไขหนังสือ เทคนิค และวิธีการเขียนหนังสือราชการประเภทต่างๆ ตลอดจนการฝึกปฏิบัติการเขียนหนังสือราชการประเภทต่างๆ
- บทที่1 การใช้ครุฑในหนังสือราชการ ความแตกต่างในการใช้งานหนังสือราชการ
- บทที่2 ความแตกต่างของประเภทหนังสือราชการ
- บทที่3 หนังสือราชการต้องมี 3 ย่อหน้าใช่หรือไม่
- บทที่4 การเขียนหนังสือที่มีการโต้ตอบกันในเรื่องเดียวกันควรอ้างถึงหนังสือฉบับใด
- บทที่5 การเขียนหนังสือราชการที่มีการแบ่งหัวข้อเป็นเรื่องเดิมกับข้อเท็จจริงแตกต่างกันอย่างไร 1-2
- บทที่6 การเขียนหนังสือราชการที่มีการแบ่งหัวข้อเป็นเรื่องเดิมกับข้อเท็จจริงแตกต่างกันอย่างไร 2-2
- บทที่7 การใช้คำขึ้นต้น
- บทที่8 เทคนิคการเขียนส่วนนำที่เป็นส่วนอารัมภบทอย่างไร
- บทที่9 มีหลักในการเขียนเนื้อหาอย่างไร เขียนอย่างไรให้เข้าใจง่าย 1-2
- บทที่10 มีหลักในการเขียนเนื้อหาอย่างไร เขียนอย่างไรให้เข้าใจง่าย 2-2
- บทที่11 มีวิธีการจับประเด็นในการเขียนหนังสือราชการให้ถูกต้องให้ตรงตามเนื้อหาที่จะสื่ออย่างไร
- บทที่12 วิธีการเลือกใช้คำเชื่อม
- บทที่13 การเลือกใช้คำ ในหนังสือราชการ 1-2
- บทที่14 การเลือกใช้คำ ในหนังสือราชการ 2-2
- บทที่15 การเขียนเบอร์โทรศัพท์ในหนังสือราชการ
- บทที่16 การต่อท้ายหนังสือ
- บทที่17 การใช้คำศัพท์เฉพาะในหนังสือราชการ
- บทที่18 หางเสียงที่ใช้ลงท้ายในหนังสือราชการ
- บทที่19 เทคนิคการเขียนหนังสือจบในย่อหน้าสุดท้าย 1-2
- บทที่20 เทคนิคการเขียนหนังสือจบในย่อหน้าสุดท้าย 2-2
- บทที่21 การใส่สโลแกนในหนังสือราชการ
- บทที่22 การเขียนหนังสือราชการจำเป็นต้องตามระเบียบสารบรรณทั้งหมดหรือไม่
- บทที่23 หนังสือราชการที่จัดทำขึ้นโดยผิดรูปแบบหรือไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมายหรือที่หน่วยงานกำหนดสามารถนำมากล่าวอ้างว่าเป็นหนังสือที่ไม่มีผลบังคับหรือไม่มีผลผูกพันต่อคู่กรณีหรือผู้รับคำสั่งได้หรือไม่
- บทที่24 จะทำอย่างไรเมื่อหัวหน้าให้เขียนหนังสือราชการที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบสารบบณแต่เป็นไปตามแนวทางที่ปฏิบัติกันมาแบบผิดๆ
- บทที่25 อยากทราบรูปแบบการเขียนอีเมลราชการ ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งให้การรับรองรายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แล้วเราสามรถนำรายมือชื่อมาปรับใช้กับงานสารบรรณศาลปกครองได้อย่างไรจะสามารถใช้กับหนังสือราชการทั้งหมดได้เลยหรือไม่
- บทที่26 ในการปฏิบัติงานทำให้มีหนังสือราชการ ที่ต้องเก็บรักษาไว้จำนวนมากเมื่อมีการปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้วสามารถแปลงเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนได้หรือไม่
- บทที่27 ถาม – ตอบ
รูปแบบการเรียนรู้
จำนวน 3 ชั่วโมงการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ที่ Oacacademy.admincourt.go.th และทำกิจกรรมระหว่างเรียนเช่น การดูวีดิโอ การอ่านเนื้อหา (ไม่มีใบประกาศนียบัตร)
ผู้สอนรายวิชา
- อดุล จันทรศักดิ์
รายละเอียด : บรรยาย ณ วันที่ 19 ต.ค. 64 ในหลักสูตรปฐมนิเทศข้าราชการบรรจุใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รุ่นที่ 1